×
หน้าหลัก > ข่าวและประกาศ > วางแผนซื้อประกันอย่างไรให้คุ้ม
วางแผนซื้อประกันอย่างไรให้คุ้ม
วางแผนซื้อประกันอย่างไรให้คุ้ม
26 Jul, 2019 / By aandrcospace
Images/Blog/RURqVaKn-Blog วางแผนซื้อประกัน.png

สิ่งหนึ่งที่จะช่วยทุเลาจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเหล่านี้ได้ คือ ประกัน การวางแผนซื้อประกันให้ตรงตามความต้องการของเราจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ประเภทของประกันชีวิต

ประกันชีวิตสามารถแบ่งออกได้เป็น “2 ชนิด 3 ประเภท 4 แบบ”

2 ชนิด คือ

  1. ชนิดที่มีเงินปันผล
  2. ชนิดที่ไม่มีเงินปันผล

3 ประเภท อันได้แก่

ประเภทของประกันชีวิต

ลายละเอียด

กลุ่มลูกค้า

สามัญ

เน้นเฉลี่ยความเสี่ยง

ผู้ที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป

อุตสาหกรรม

เน้นมีทุนประกัน และเบี้ยประกันต่ำมาก

ผู้ที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง

กลุ่ม

เป็นประกันที่นายจ้างทำให้กับลูกจ้างหรือพนักงานภายใต้กรมธรรมืหลักฉบับเดียวกัน ค่าเบี้ยประกันจึงถูกกว่าอีกสองประเภทข้างต้น

โดยมากจะเป็นกลุ่มบริษัท

 

 4 แบบ ได้แก่

แบบของประกันชีวิต

ลายละเอียด

เหมาะกับใคร

แบบชั่วระยะเวลา

(Term Insurance)

มีให้เลือกทั้งแบบระยะสั้น ระยะยาว เป็นการจ่ายเงินคืนให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนด

ผู้ที่ต้องการความคุ้มครองการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร หรือคุ้มครองหนี้สิน

แบบตลอดชีพ

(Whole Life Insurance)

เป็นการคุ้มครองตลอดชีพ โดยจะจ่ายคืนให้ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต หรือจ่ายเงินคืนให้ผู้เอาประกันเมื่อมีอายุครบ 99 ปี

ผู้ที่เป็นเสาหลักของครอบครัว ในการหาเงิน

แบบสะสมทรัพย์

(Endowment Insurance)

เป็นแบบผสมระหว่างการคุ้มครองชีวิต และการออมเงิน จ่ายคืนให้ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต หรือจ่ายเงินคืนให้ผู้เอาประกันเมื่ออยู่จนครบสัญญา

ผู้ที่ต้องกาออมเงินระยะยาว

แบบเงินได้ประจำ

(Annuities Insurance)

เป็นการรับเงินแบบเป็นงวดๆ จนกว่าผู้เอาประกันจะเสียชีวิต

ผู้ที่ต้องการสะสมเงินไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณอายุ

 

ทุนประกัน

แล้วทุนประกันเท่าไรถึงจะเหมาะสมกันละ หลักการที่ง่ายที่สุดคือ วิธีคูณรายได้ (Multiple of Earnings Method) โดยตัวเลขทวีคูณที่นิยมใช้อยู่ประมาณ 3-5 เท่าของรายได้ต่อปี

ตัวอย่างเช่น นายสมชายมีรายได้ 1 ล้านบาทต่อปี คูณ 5 เท่า เท่ากับ 5 ล้านบาท ซึ่งนี้ก็จะกลายเป็นเงินประกัน

การคำนวณด้วยวิธีนี้ จะช่วยในการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของแต่ละครอบครัวได้ โดยเป็นการประเมินจาก ระยะเวลาในการปรับตัวเพื่อให้คนที่ยังอยู่ต่อในกรณีที่ นายสมชายเสียชีวิต กล่าวคือคนข้างหลังจะได้รับเงินประกันเท่ากับทุนประกัน หรือ 5 ล้านบาทในกรณีนี้ ซึ่งก็อาจจะเพียงพอให้พวกเอยู่ต่อไปได้อีกอย่างน้อย 5 ปี

อีกหนึ่งวิธีคือ วิธีวิเคราะห์ความจำเป็นทางการเงิน(The Financial Needs Analysis Method) ซึ่งวิธีนี้อาจจะต้องใช้เวลามากหน่อยในการคำนวณ และพิจารณารายละเอียดรอบด้สนทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อที่จะได้ทราบความต้องการทางการเงินที่แท้จริง เริ่มจาก

ลำดับ

ขั้นตอน

รายละเอียด

1

ประมาณความต้องการทางการเงินที่จำเป็นต้องได้รับความคุ้มครอง หลักเกณ

หลักเกณฑ์ง่ายๆ คือต้องดูให้ครอบคลุมค่าใช้จ่าย และภาระทางการเงินที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งหมด เช่น รายได้สำหรับครอบครัว ภาระหนี้สิน การศึกษาบุตร ค่ารักษาพยาบาล เงินฉุกเฉิน ความทุพพลภาพ การชดเชยรายได้ รวมทั้งความคุ้มครองทรัพย์สินส่วนบุคคล

2

ประมาณการรายได้และทรัพยากรทางการเงินทั้งหมดที่มี

เช่น เงินออม เงินลงทุน ดอกเบี้ย ผลตอบแทน ผลประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งสินทรัพย์ที่มีมูลค่าทั้งหมด โดยระยะเวลาในการประมาณการรายจ่ายและรายได้ต้องสอดคล้องกัน

3

คำนวนทุนประกัน

หลังจากรวบรวมข้อมูลรายจ่ายและรายได้เรียบร้อยแล้ว ให้คำนวนทุนประกันที่เหมาะสมได้จากสูตร

 

คำนวน:

จำนวนเงินทุนประกันภัย = รายจ่ายจำเป็นทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นเมื่อเสี่ยงภัย หัก รายได้ เงินออม เงินลงทุน ผลประโยชน์ทั้งหมดที่มี

 

เกร็ดความรู้เรื่องเบี้ยประกัน

การที่ทำทุนประกันสูงก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องดี เพราะการคำนวณค่าเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายในแต่ละปีขึ้นอยู่กับวงเงินประกันหรือวงเงินคุ้มครอง หากทุนยิ่งสูงเบี้ยก็จะสูงตามไปด้วย ดังนั้น กฎง่ายๆ ที่ควรจำไว้คือ จำนวนเบี้ยประกันชีวิตต่อปี ไม่ควรเกิน 10% ของรายได้ต่อปี

เพราะฉนั้นจากตัวอย่างข้างต้นของ นายสมชาย เขาไม่ควรจ่ายเบี้ยประกันเกินปีละ 100,000 บาท ต่อปี ทั้งนี้ก็ควรจะคำนึงถึงภาระหนี้สินและภาระค่าใช้จ่ายที่มีอยู่แล้วด้วย

 

ช่วงภาวะ เงินช็อตจะทำอย่างไร

สิ่งที่สามารถจะทำได้คือ ไปหาตัวแทนประกันของคุณเพื่อให้เขา กู้เงินจากมูลค่าเงินสดในกรมธรรม์มาจ่ายค่าเบี้ยแทน ซึ่งมูลค่าเงินสดจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคุณได้มีการส่งเบี้ยตั้งแต่สองปีขึ้นไป พอเริ่มมีรายได้กลับมา ก็ค่อยไปจ่ายเงินกู้ค่าเบี้ยพร้อมดอกเบี้ยอีกประมาณ 8%

 

แล้วประกันสุขภาพละ

โดยปกติหากเราซื้อประกันชีวิตแล้ว หรือที่เรียกว่าประกันหลัก คุณก็จะสามารถซื้อประกันเสริม หรือพ่วงได้ เช่นประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ หรือฆาตกรรมเข้าไปด้วย แต่ปัจจุบันเราก็สามารถที่จะซื้อพวกประกันเสริมเหล่านี้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องซื้อประกันชีวิตก่อนก็ได้

หลักการเลือกซื้อประกันสุขภาพ ก็ควรเลือกดูแพคเก็จที่ประกันสังคมและสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากที่ทำงานไม่คุ้มครอง เนื่องจากว่าประกันสุขภาพเป็นการจ่ายเบี้ยแบบทิ้งเปล่า หากเราไม่ได้ใช้ โดยหลักๆ ให้ดูเรื่องของ ค่ารักษาพยาบาลและ ค่าห้องซึ่งถ้าเป็นค่าห้องก็อาจจะไม่ต้องเลือกซื้อเต็ม 100% ก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทุนทรัพย์ของคุณ อาจจะซื้อให้คุ้มครองสัก 80% ที่เหลือไว้ค่อยจ่ายตอนเกิดการไปใช้จริง อาจจะช่วยประหยัดขึ้นได้

เนื่องจากการแข่งขันในปัจจุบันของอุตสาหกรรมนี้สูง ก็อาจจะมีแพคเก็จดีๆ มากให้เลือกกันมากขึ้น เช่นประกันสุขภาพไม่เคลมมีคืน หรือมีส่วนลดเพิ่มเติม ต่างๆ

 

ประกันอัคคีภัยแบบไหนคุ้มสุด

โดยหลักๆ ถ้าหากเป็นที่อยู่อาศัยก็ควรมีประกันไว้เช่นกัน เนื่องจากเราไม่รู้ว่าจะมีภัยธรรมชาติ หรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้เมื่อไร สำหรับบ้านให้เลือกซื้อ กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย เพราะมันจะมีแบบเพื่อธุรกิจอุตสาหกรรม อย่างคุ้มครองโรงงาน อาคารพาณิชย์อะไรแบบนี้ด้วย แน่นอนเบี้ยก็จะแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับความคุ้มครอง

หากเป็นกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย จะคุ้มครองภัย 6 ประเภท ดังนี้

  • ภัยจากไฟไหม้
  • ฟ้าผ่า
  • การระเบิดทุกชนิด
  • ภัยจากการชนโดยยานพาหนะ
  • ภัยจากการชน หรือตกใส่จากอากาศยาน
  • ภัยจากน้ำ

รู้แบบนี้แล้วก็สามารถไปจัดการเลือกซื้อประกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่สำคัญควรจะทำการเปรียบเทียบในทุนประกันที่เท่ากัน เพื่อที่จะดูได้ว่าของบริษัทไหนให้ความคุ้ทครอง และผลตอบแทนที่ดีสุด

ที่มา: Stock Exchange of Thailand

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.