×
หน้าหลัก > ข่าวและประกาศ > วิธีเลือกกองทุนรวม (แบบละเอียด)
วิธีเลือกกองทุนรวม (แบบละเอียด)
วิธีเลือกกองทุนรวม (แบบละเอียด)
21 Jul, 2019 / By aandrcospace
Images/Blog/LCp7udQ4-Blog วิธีเลือกกองทุนรวม.png

คิดว่าใครหลายๆ คนก็ทราบถึงกองทุนรวม หรือที่เรียกภาษาอังกฤษว่า Mutual Fund ว่าเป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้ลงทุนสามารถที่จะเลือกความกองทุนที่เหมาะกับลักษณะการลงทุนของตนเองได้ เช่นรับความเสี่ยงได้น้อย ควรเลือกกองทุนแบบนี้ หรือถ้ารับได้มาก ก็ควรไปลงกองทุนนั้น 

แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่ากองทุนไหนที่เราควรจะเลือก 10 หัวข้อที่ควรจะต้องดู

1. นโยบายหลัก

นโยบายหลัก หมายถึง กองทุนรวมนั้นนำเงินของนักลงทุนไปลงทุนในสินทรัพย์ไหน โดยสินทรัพย์หลักที่กองทุนรวมไปลงทุนมี 6 ประเภท คือ ตลาดเงิน ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ ตราสารทุน สินค้าโภคภัณฑ์ และแบบผสมของกองทุนที่กล่าวมา 

2. นโยบายรอง

นโยบายรอง หมายถึง กองทุนรวมนั้นมีลักษณะการลงทุนที่พิเศษนอกเหนือไปจากนโยบายหลักอย่างไรบ้าง ซึ่งนโยบายรองเหล่านี้มักนำมาซึ่งผลตอบแทนที่แตกต่างกันในกองทุนรวมที่ลงทุนในสินทรัพย์เดียวกัน

3. เงื่อนไขทางภาษี

อันนี้ก็สำคัญ สำหรับพนักงานเงินเดือนที่ต้องเสียภาษี กองทุนบางอย่างเราสามารถนำไปหักภาษีได้ ช่วยให้ได้รับเงินคืน เช่นพวกที่อยู่ใน LTF หรือ RMF

4. พอร์ตการลงทุน

สิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้คือ ดูพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตัวกองทึนรวมที่เราสนใจด้วย เพราะมันจะบอกได้ว่ากองทุนรวมนั้นมีโอกาสได้กำไร หรือขาดทุน นักลงทุนควรทำความรู้จักว่ากองทุนรวมที่สนใจลงทุนในสินทรัพย์อะไรอยู่บ้าง และสินทรัพย์นั้นมีแนวโน้มในอนาคตเป็นอย่างไร

5. ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมกองทุนนั้นถือเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญมากในการลงทุน เพราะมีส่วนกำหนดผลตอบแทนในอนาคต:

กองทุนรวมที่มีค่าธรรมเนียมมาก > ผลตอบแทนที่นักลงทุนควรจะได้รับต่ำลง เพราะต้องแบ่งเงินบางส่วนออกไปจ่ายเป็นค่าธรรมเนียม

เพราะฉนั้นนักลงทุนควรเลือกกองทุนรวมที่มีค่าธรรมเนียมต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนเหมือนกัน

6. ตอบแทนย้อนหลัง

การดูผลตอบแทนย้อนหลังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ผลาดไม่ได้ เพราะมันสามารถบ่งบอกถึงแนวโน้มว่ากองทุนรวมนั้นๆ จะมีโอกาสทำกำไรหรือไม่ โดยส่วนใหญ่นิยมเปรียบเทียบผลตอบแทนกับดัชนีที่เหมาะสมเป็นหลักซึ่งต่างไปในแต่ละสินทรัพย์ เช่น

  • กองทุนรวมตราสารเงิน : ค่าเฉลี่ยดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุด 3 ธนาคารของประเทศ
  • กองทุนรวมตราสารหนี้ : ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล
     

7. ความเสี่ยง

ดูความเสี่ยงก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ ถึงแม้จะจับต้องได้ยากเพราะต้องอาศัยการประเมินและประสบการณ์ หากนักลงทุนเข้าใจสินทรัพย์การลงทุนได้ดี นักลงทุนก็จะเข้าใจถึงปัจจัยความเสี่ยงได้ดีในระดับหนึ่ง

หนึ่งในปัจจัยที่ใช้ดูเรื่องความเสี่ยงคือ Sharp Ratio ซึ่งเป็นค่าทางสถิติที่คำนวณมาจากผลตอบแทนย้อนหลังเปรียบเทียบกับความผันผวนย้อนหลัง

8. นโยบายจ่ายปันผล

ขึ้นอยู่ความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินในระหว่างการลงทุน เช่น หากต้องการกระแสเงินสดเพื่อนำไปใช้จ่ายต่อ ก็ควรเลือกกองทุนที่มีการจ่ายค่าปันผล แต่ถ้าไม่มีความจำเป็นต้องใช้ หรือเอาเงินปันผลไปลงทุนอยู่ดี ก็ดูกองทุนที่ไม่มีจ่ายเงินปันผล 

อนึ่งการที่ยังไม่รับเงินปันผล จะสามารถประหยัดค่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปได้ กองทุนที่มีนโยบายไม่จ่ายเงินปันผลจะประหยัดภาษีกว่ากองทุนที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล ยกเว้น กรณีที่นักลงทุนสามารถขอคืนภาษีได้ทั้งหมด

9. เงื่อนไขการซื้อ

แน่นอนว่าแต่ละกองทุนมีการบริหารจัดการจากคนละบริษัท นโยบายจึงแตกต่างกันไปด้วย โดยเรื่องหลักๆ ที่ต้องดูมรดังนี้

  • จำนวนขั้นต่ำในการซื้อครั้งแรก
  • จำนวนขั้นต่ำในการซื้อครั้งถัดไป
  • สถานที่ซื้อ เช่น บลจ.โดยตรง ธนาคารที่เป็นนายหน้า ออนไลน์
  • วิธีการซื้อ เช่น จ่ายเงินสด ตัดบัตรเครดิต ตัดบัญชีแบบอัตโนมัติ
  • ราคาอ้างอิงของหน่วยลงทุนที่จะได้

10. เงื่อนไขการขายคืน

เงื่อนไขการขายคืนก็เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเราอาจจะได้กำไรระหว่างทาง แต่พอตอนขายคืนกลับกลายเป็นขาดทุนจากการขายคืน สรุปจากได้กำไรกลายเป็นขาดทุน โดยเรื่องที่ต้องดูหลักมีดังนี้

  • เงื่อนไขในการขายคืน > แบบเปิด vs แบบปิด
  • จำนวนขั้นต่ำในการขายคืน
  • สถานที่ขายคืน เช่น บลจ.โดยตรง ธนาคารที่เป็นนายหน้า ออนไลน์
  • วิธีการได้รับเงิน เช่น รับเป็นเงินสด รับเป็นเงินเข้าบัญชีธนาคาร รับเป็นเช็ค
  • ราคาอ้างอิงของหน่วยลงทุนที่จะได้
  • จำนวนวันที่จะได้รับเงินคืน

นอกจาก 10 หัวข้อข้างต้นแล้ว นักลงทุนยังต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับราคาซื้อขายของกองทุน หรือที่เรียกว่า NAV หรือ Net Asset Value ที่เกิดจากการคำนวณทรัพย์สินรวมของกองทุนเพื่อตีเป็นราคาในการซื้อขาย

กองทุนรวมถือเป็นสินทรัพย์การลงทุนที่เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักลงทุนที่ไม่ได้มีเวลาหรือความสนใจในการจะศึกษาเรื่องการลงทุนอย่างเต็มที่เพื่อจะลงทุนได้ด้วยตนเอง กองทุนรวมก็จะช่วยทุ่นแรงในการหาผู้จัดการกองทุนมาช่วยลงทุนและดูแลเงินของนักลงทุนให้

อ่านเพิ่มเติมได้ที่: ลงทุนศาสตร์

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2025
Vevo Systems Co., Ltd.