สวัสดี ไวรัสโคโรนา COVID-19
01 Mar, 2020 / By
aandrcospace
ไวรัสโคโรนา คืออะไร
ไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด-19 (COVID-19) เป็นไวรัสที่จัดอยู่ในวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาไวรัสทั้งหมด ถูกพบครั้งแรกในช่วงปี 1960 โดยผู้ที่ได้รับเชื้อ ณ เวลานั้นจะมีอาการคล้ายไข้หวัดทั่วไป ไม่ได้มีอาการรุนแรงมาก “โคโรนา” ในภาษาละตินมีความหมายว่ามงกุฎ เนื่องจากเมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนจะเห็นว่าไวรัสชนิดนี้มีลักษณะคล้ายมงกุฎ โดยเปลือกหุ้มด้านนอกประกอบด้วยโปรตีนคลุมด้วยกลุ่มคาร์โบไฮเดรตเป็นมีลักษณะปุ่ม ๆ ยื่นออกไปจากอนุภาคไวรัส ไวรัสโคโรนาเป็นไวรัสที่สามารถกลายพันธุ์ได้ง่าย เนื่องจากมีสารพันธุกรรมชนิด RNA ดังนั้นเชื้อจึงมีการพัฒนาตัวเองตลอดเวลาทำให้การรับมืออาจทำได้ยาก ไวรัสโคโลน่ามีหลากหลายชนิดบางชนิดทำให้เกิดอาการไข้หวัดธรรมดา แต่บางชนิดก็มีความรุนแรงและสามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 จะมีอาการเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยจะแสดงอาการตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อย ไม่ว่าจะเป็น การคัดจมูก เจ็บคอ ไอ และมีไข้ บางรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการปอดบวมหรือหายใจลำบากร่วมด้วย บางรายก็รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
เชื้อก่อโรค coronavirus สายพันธุ์ใหม่ เชื้อไวรัสนี้มีชื่อเฉพาะว่า 2019-nCoV เป็นไวรัสในลำดับที่ 7 ของไวัสตระกูล coronaviruses lineage B, จีนัส betacoronavirus, เชื้อมีลำดับยีนมากกว่าร้อยละ 85 ที่เหมือนกับยีโนมของเชื้อ SARS-like CoV ในค้างคาว (bat-SL-CoVZC45, MG772933.1) การก่อโรคในมนุษย์จากเชื้อโรคในค้างคาวถือว่าเป็น zoonotic disease ด้วย
เชื้อไวรัสนี้ถือได้ว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ล่าสุดที่ยังไม่เคยมีการตรวจพบมาก่อน จึงเป็นเหตุให้ทั้งโลกต่างจับตาและมีความวิตกกังวลและหวาดกลัวต่อเชื้อไวรัสชนิดนี้ ไวรัสโคโรนา เดิมมีชื่อที่ใช้ในตอนแรกคือ 2019 nCoV และมีชื่ออย่างเป็นทางการในปัจจุบันคือ SARS-CoV-2 ส่วนชื่อของโรคติดเชื้อชนิดนี้เรียกว่า COVID-19 (ศ.เกียรติคุณนายแพทย์อมร,2563) ย่อมาจาก
- CO แทน corona
- VI แทน virus
- D แทน disease
- 19 แทน ปี 2019 (โรคติดเชื้อนี้เกิดขึ้นในปี 2019)
สถานการณ์ไวรัส COVID-19
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุดทั่วโลก
ประกาศกระทรวงการสารธารณะสุข
ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
การแก้ปัญหาและการป้องกัน
แนวทางการแก้ปัญหา
วิธีแก้ปัญหา ป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 ขึ้นอยู่กับการควบคุมอำนาจแพร่ระบาด หรือการกระจายของโรค เช่น ประเทศจีนบังคับใช้วิธี ปิดเมือง ห้ามคนในออก คนนอกห้ามเข้า และส่งทีมแพทย์เข้าไปรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อแล้วในพื้นที่ระบาด ใช้เวลาประมาณ 2-6 เดือน โดยคิดง่ายๆว่า ผู้ป่วย 1 คน กระจายโรคไปได้ 2 คน เมื่อรักษาผู้ป่วยแล้ว ก็จะได้ผู้ที่มีภูมิต้านทานมากขึ้น จนถึงครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย หรือ 50% การระบาดก็จะอยู่ในสถานการณ์ที่เรียกว่า เริ่มสงบ โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสนี้ก็จะกลายเป็นแค่โรคประจำถิ่น (endemic) มีการติดเชื้อเป็นหย่อมๆ จนกว่าจะมีภูมิต้านทานกันหมดทุกคน (มติชนออนไลน์, 2563)
มาตรการป้องกัน
โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ขอแจ้งมาตรการความปลอดภัยด้านสุขภาพรวมถึงการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 ตามแนวปฏิบัติ ดังนี้
- คัดกรอง และแยกผู้ป่วยที่สงสัยเพื่อตรวจในห้องตรวจเฉพาะ
- ซักประวัติ และวัดไข้ผู้มารับบริการที่ทุกคลินิก
- ติดตั้งแอลกอฮอล์เจลที่หน้าลิฟต์ทุกชั้น
- สำรองเวชภัณฑ์ ยา และอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อให้พอเพียง
- เตรียมความพร้อม ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ
- หากท่านมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก และเพิ่งกลับจากประเทศจีน ประเทศสิงคโปร์ ประเทศญี่ปุ่น ภายใน 14 วัน หรือสัมผัสผู้ป่วยต้องสงสัย กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
วิธีป้องกัน
เบื้องต้นทุกคนสามารถป้องกันตัวเองและคนรอบข้างให้ห่างไกลจากเชื้อไวรัสโควิด19สายพันธุ์ใหม่ ได้ดังนี้
- เลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ
- เลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะเมืองอู่ฮั่นที่เป็นรังโรคและเมืองอื่นๆ ในประเทศจีนที่มีการระบาด
- ระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่
- ควรล้างมือให้สม่ำเสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างน้อย 20 วินาที
- งดจับตา จมูก ปากขณะที่ไม่ได้ล้างมือ
- เลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัสสัตว์ต่างๆ โดยที่ไม่มีการป้องกัน
- ทานอาหารสุก สะอาด ใช้ช้อนกลาง ไม่ทานอาหารที่ทำจากสัตว์หายาก
- สำหรับบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด19สายพันธุ์ใหม่ โดยตรง ควรใส่หน้ากากอนามัย หรือใส่แว่นตานิรภัย เพื่อป้องกันเชื้อในละอองฝอยจากเสมหะหรือสารคัดหลั่งเข้าต
- มาตรการพื้นฐานในการป้องกันไวรัสโคโรนาชนิดใหม่
ที่มา: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)