×
หน้าหลัก > รายการ > เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคโคโรนา รู้ไว้ป้องกัน
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคโคโรนา รู้ไว้ป้องกัน
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคโคโรนา รู้ไว้ป้องกัน
24 Mar, 2020 / By aandrcospace
Images/Blog/zPzHHLeP-Blog 800x600 (10).png

โรคโคโรนา หรือโควิด COVID-19

โรคนี้มันเป็นโรคใหม่ มันยังไม่มีวัคซีน มันยังไม่มียา (ไม่นับอันที่รีบๆวิจัยมาใหม่ๆ ที่รีบทดลองแบบรีบออกมาใช้ก่อน)

ปกติเป็นโรคที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ในพื้นที่หนึ่งๆ ถ้ามีวัคซีน ก้อรีบกระจายวัคซีนให้ทั่ว ทุกคนก็จะมีภูมิ และถึงแม้ว่าจะมีเชื้อที่กลายพันธุ์ แพทย์จะต่อสู้กับจำนวนคนไข้ไม่มากจากเชื้อที่กลายพันธุ์

เอาตามปัจจุบัน คือ ถ้ามีคนเป็นCovid แล้วหายได้ แปลว่าร่างกายสร้างภูมิได้ จากตัวเลขที่มี คนที่เป็นรุนแรงมีประมาณไม่เกิน 5% ที่เหลือหายเองได้ (80-95%) (ถ้าเป็นในคนสูงอายุ อัตราการตายจะสูงมาก อาจถึง 50%, แต่ในเด็ก มีเคสที่เป็นรุนแรงน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นเหมือนไข้หวัดธรรมดา)

และจากการวิจัยเท่าที่มี บอกว่าระยะของโรค จะมีประมาณ 20วัน โดยเฉลี่ย (นานสุด 37วัน) บางรายงานเป็น 11 วัน - เอาว่าเวลาป่วยทีก็ดูเหมือนจะนานกว่าปกติ ใช้เวลาสร้างภูมิมาสู้กับโรคนานพอตัว เลยทำให้กว่าจะหายดีจริงๆ อาจกินเวลาถึง 3 สัปดาห์ได้ เราเลยไม่ค่อยเห็นตัวเลขคนที่หายดีในไทย จะขยับขึ้นสักเท่าไหร่ มีแต่เคสใหม่ที่ขึ้นอย่างเดียว เพราะระยะของโรคมันนาน

ระยะฟักตัว

พูดถึงระยะฟักตัวบ้าง นับตั้งแต่หลังสัมผัสโรคมา ไปจนถึงเป็นโรค เอาแบบเข้าใจนะ คือ นับตั้งแต่ตอนที่เราได้เชื้อมา แล้วมันจะเข้าไปแฝงในร่างกายเรา แล้วฟักตัวเพื่อเพิ่มจำนวนมากขึ้นๆๆ จนค่อยปล่อยกระจายไปยึดอวัยวะเรา ทั้งหมดนี้เรียกว่า ระยะฟักตัว ซึ่งคนที่อยู่ในระยะนี้จะไม่มีอาการอะไร จนกว่าจะเป็นโรคก่อน

ระยะฟักตัว (เท่าที่รู้ตอนนี้) คือ 2-14 วัน (นานสุด 27วัน) แล้วค่อยมีอาการ แต่เป็นข้อมูลเท่าที่มีนะ การศึกษามันคงออกมาเรื่อยๆ แต่ข้อมูลยังมีไม่มากเพราะเป็นโรคใหม่

แล้วยังมีความพิเศษอีกของโรคนี้ คือ สามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ระยะฟักตัวด้วย (ขอยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย สมมติเป็นไข้หวัดใหญ่ ในระยะฟักตัวจะยังไม่แพร่กระจายเชื้อ ต้องรอจนมีอาการก่อน คือจำนวนเชื้อมากพอที่ทำให้เป็นโรค แล้วอาการต่างๆ เช่น ไอ จะเป็นตัวกระจายเชื้อออกไป)

ทีนี้โรคนี้ดันแพร่กระจายตอนที่อยู่ใระยะฟักตัวได้ด้วย แปลว่า คนที่ติดมา ทีายังไม่มีอาการ ก็ปล่อยเชื้อให้คนอื่นได้ โดยที่ตัวคนปล่อยยังไม่รู้เลย 

ส่วนใหญ่ก็คือ คนที่ตอนเดือน มค-กพ ไปเที่ยวกันใหญ่ บอกว่าไม่น่ากลัวๆ คนโล่งๆ ราคาถูกมว๊ากกก รีวิวกันใหญ่ คุ้มเหลือเกิน บลาๆๆ ว่ากันไป ดาราก็เยอะ และรงมถึง ข้าราชการนักการเมือง ที่บินไปเมืองนอกกัน และคิดกันว่าใส่หน้ากาก ก็พอ ล้างมือบ่อยๆไง แต่เราคงทำไม่ได้ตลอดเวลา หรือเผลอเรอไปบ้าง ก็อาจจะสัมผัสเชื้อมา / แล้วพอกลับมา ก็ไม่เป็นไรไง อาการไม่มี ไม่ได้สัมผัสอะไรเลย ล้างมือตลอด เราจะฟังวนไปซ้ำๆ และพอบอกว่าไม่เป็น คิดว่าไม่เป็นโรคแน่ๆ เลยออกไปใช้ชีวิตตามปกติ พอความรู้แบบที่เล่า มาถึงเราช้าหน่อย ประเทศเราก็ปล่อยคนเหล่านี้ออกไปสู่สังคม ไม่กักตัวไว้ก่อน แล้วค่อยมาตามทีหลัง และก็เป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

มีอีกส่วนนึงที่ทุกคนต้องทำความเข้าใจอย่างมาก คือ การไปตรวจหาเชื้อตอนที่อยู่ในระยะฟักตัว อาจให้ผลเป็นลบได้ มากกว่าครึ่ง หรือ อาจจะถึง 90% ในบางรายงาน แปลว่า รีบไปตรวจตอนที่เพิ่งกลับมาก็ไม่เจอเชื้อหรอก แต่สรุปว่ายังเป็นโรคได้ ถ้าเราไปติดเชื้อมา

ข้อนี้ คนไทยเอาไปใช้กันเยอะมาก เรื่องของเรื่องคือไปทำตัวเสี่ยงมา ไป ตปท กลับมา มีคนมีชี้บอกว่าเสี่ยง คนเหล่านี้ จะบอกว่า “ไม่เป็นไรเลย ไม่มีอาการ ปกติดี” เดี๋ยวจะไปตรวจให้ดู แล้วก็รีบไปตรวจ ผลก็ออกมาเป็นลบ เอาไปยันตามที่ต่างๆ แล้วก็ออกไปใช้ชีวิตตามปกติ แต่สุดท้ายก็ป่วย และไม่ทันละ

สรุปว่าควรกักตัวไป 14 วัน ถ้ารู้ว่าเสี่ยง หรือถ้าไม่แน่ใจ ให้คิดว่าเราเสี่ยง เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม ไม่ต้องไปตรวจตอนไม่มีอาการ เพราะถึงผลเป็นลบ ก็ต้องกักตัวอยู่ดี (ถ้าจำด้านบนได้ มีบางรายงานบอกว่า ระยะฟักตัวอาจนานเป็นเดือนได้ การกักตัวแค่ 14 วัน ในบางคนก็อาจจะยังไม่พอด้วยซ้ำ)

Herd Immunity คืออะไร

พูดถึง Herd Immunity ที่ดังๆอยู่ช่วงสัปดาห์ก่อน เป็นวิธีที่อังกฤษจะใช้ (แต่ตอนนี้เปลี่ยนแผนแล้วนะ หันมาใช้ Social distancing แทนละ และให้ทุกคนป้องกันตัวเอง)

โรคนี้เป็นโรคใหม่ ที่ไม่มีใครเคยเป็น ถ้าวัคซีนมันยังไม่ออกมา สุดท้ายทุกคนคงต้องเป็นโรคนี้สักทีนึง และรุนแรงในจำนวน 5% ตามที่บอก ส่วนใหญ่ก็หายและมีภูมิคุ้มกันไป

การแพร่ระบาด - ถ้าเป็นในประเทศที่ไม่สนใจเลย - จาก 1 คนที่ติดเชื้อ เดินไปมาตามปกติ จะเป็นคนแพร่กระจายไปเรื่อย แล้วคนที่ติด ก็แพร่ต่อไปแบบวงกว้าง ไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่มีใครระวังอะไรเลย แล้วจำนวนคนไข้จะเพิ่มขึ้นเป็นแบบ exponential หรือทวีคูณ เหมือนในประเทศที่มีตัวเลขสูงๆ เช่น เกาหลีใต้ หรือ ชัดๆก็ใน อิตาลี

ในระยะที่เป็นโรค ที่เห็นมีอาการแล้ว ไม่น่าเป็นกังวลทางการแพทย์เท่าไหร่ เพราะเราจะรู้ว่าคนไหนเป็นโรค แล้วจะรีบจับตรวจรักษาและกักกันต่อไป

แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ คนที่อยู่ในช่วงระยะฟักตัว - ถ้าเราให้คนที่อยู่ในระยะนี้ “กักตัว” ให้ได้เยอะที่สุด เราจะควบคุมการแพร่ระบาดได้ดี แล้วให้คนที่ติดเชื้อไปแล้วที่อยู่ใน รพ รักษาตัวให้หายและกลับบ้านไปก่อน คนที่ได้กลับบ้านนี้ ก็คือคนที่มีภูมิคุ้มกันแล้ว (นี่คือ herd immunity คือ เป็นการสร้างภูมิให้ทุกคน) มันก็ยังจะมีคนติดโรคนี้ มาแบบเรื่อยๆ เพราะเรากันได้ไม่หมดหรอก แต่ก็มีคนถูกกักกันไปจำนวนมาก จะทำให้จำนวนคนป่วยมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่เป็นแบบช้าๆ และถูกรักษาหายตามมา และ รพ จะรับมือไหว 

แต่ถ้าคนที่เสี่ยงไม่กักตัว ก้อจะเกิดโมเดลแบบแรก ที่คนป่วยเพิ่มจำนวนที่ละมากๆ แต่สุดท้ายก็จะหายไปพร้อมๆกันนะ แล้วมันมีข้อเสียตรงไหน 

ข้อเสียที่จะเกิด มันขึ้นอยู่กับความสามารถในการรักษา คือ 1 คนที่หนัก ก็ต้องการ 1 เตียงใน รพ ยกตัวอย่างในประเทศไทย รพ. ใหญ่ๆในแต่ละจังหวัดรับได้เป็นหลัก 100 เตียง แต่อย่าลืมว่าเป็นเตียงที่มีคนไข้นอนอยู่นะ ไม่ใช่เตียงว่างๆ และสำหรับคนที่หนักมากๆ ต้องการ ICU เราจะมีแค่ รพ. ละ 10-20 เตียง นี่ยกแบบจำนวนเวอร์ๆนะ เอาจริงๆได้น้อยกว่านั้นมาก

ถ้ารับคนไข้ไหว อัตราการตายก้อจะต่ำ และกักกันไปด้วยพร้อมๆกัน และจะหายและมีภูมิกันไปในที่สุด

ประเทศที่ทำแบบนี้ได้ คือ จีน ที่เปิด รพ 1,000 เตียงใหม่ รองรับคนป่วยเลย อัตราการตายเลยต่ำ (เมื่อคิดเป็น%) ไม่เหมือนในยุโรปที่ไม่ได้เตรียมตัวเลย อัตราการตายเลยสูงกว่ามาก และดูเหมือนจะสูงขึ้นอีกเรื่อยๆ เพราะรับมือกับคนป่วยที่รุนแรงไม่ไหว จากเหตุที่เตียงไม่พอ ICU ไม่พอ

ถึงตัวเลขคนที่หนักจะแค่ ~5% ก็เถอะ 100 คน เป็นแค่ 5 เองนะ / แต่พอไม่กักตัวกัน ปล่อยเชื้อกันไปเรื่อยๆ ใน 2-3 อาทิตย์แรก ที่มันจะทวีคูณจำนวนขึ้นไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ แล้วคนที่เป็นโรคจะโผล่มาพร้อมๆกันทีเดียว จำนวนมาก เป็นหลักหลายร้อย และขึ้น 1,000 ไป 10,000 คนที่หนัก ก็จะกลายเป็น 50 และไป 500 

เอาแค่หนัก 50-100 คน ไทยเราก็รับไม่ไหวแล้วนะ เพราะเตียงแบบนี้เราไม่พอ และอย่าลืมว่า หมอและพยายาลที่ยอมลงมาตรวจรักษา ก็เสี่ยงที่จะติดด้วย (อิตาลี บุคลากรทางการแพทย์ติดไปเกือบ 3,000คน) แค่มาตรวจ ก็ต้องกักกันตัวเองไป 14 วัน ไม่เจอครอบครัวด้วยนะ

แล้วรพ ที่รับ แม้จะรับเข้าไปนอนแค่วอร์ดเดียว แต่รับไปแค่ 1 คน ต้องปิดทั้ง floor เพราะถ้าเอาคนไข้คนอื่นมาอยู่ในวอร์ดเดัยวกัน ก็มีโอกาสติดอีก / เหมือนกัน ถ้าเข้า ICU 1 เตียง ก็แทบจะต้องยกทั้ง ICU ให้ใช้รักษาโรคนี้โรคเดียว คนไข้คนอื่นๆที่ป่วย ต้องถูกย้ายออกไปนอนที่อื่นๆ หรือบางคนต้องยอมกลับไปนอนที่บ้าน เอายาไปกินแทน ทั้งๆที่จำเป็นต้องรักษาตัวใน รพ 

ทีนี้ ถ้าเล่นเป็นกันมาที่ละหลายๆร้อย รพ ต่างๆ จะรับยังไง แต่ละที่รับได้เป็น 100-200 เตียง ก้อคือ ทั้ง รพ ต้องรับคนไข้โรคนี้อย่างเดียว ในแต่ละจังหวัด ถ้าอ่านถึงตรงนี้ ลองคิดตามว่า คนเราจะไม่ป่วยเป็นโรคอื่นๆบ้างเลยหรอ มันก็จะเกิดการรับไม่ไหวตามมา การกักกันใน รพ ไม่พอละ คนที่อยู่ใน รพ ด้วยกัน ก็จะพาลเป็นไปกันหมด คนที่อาการไม่หนัก ต้องกลับไปนอนที่บ้านแทน แล้วก็อาจจะไปติดให้คนที่บ้านอีก แล้วก็กระจายไปอีกเรื่อยๆ เป็นวงจรไปเรื่อยๆ คนไข้โรคนี้ ก็จะไม่หมด จนจะเป็นกันหมด

แล้วทำไมตายกันเยอะ - ตัวอย่างนะ ถ้าเอาแค่ 100-200 คนที่เป็นโรคนี้ ใน 1 จังหวัด จะมีคนที่มีอาการหนัก 5% ก็ 10คน ก็เต็ม ICU (คนไข้โรคอื่นไม่นับนะ) แล้วใน 190 คนที่เหลือ จะมีคนที่มีอาการ ปานกลางจนรุนแรง รออยู่ ที่จะไม่ได้รับการรักษาที่ดี และจะกลายเป็นคนที่เป็นโรครุนแรง มาเรื่อยๆ และไม่มี ICU ให้เข้า และจะเสียชีวิต เรียงกันไปเรื่อยๆ

ตามที่เราได้ยินตอนนี้ ในอิตาลีเป็นหลักที่อัตราการตายสูงมาก และจะตามมาอีกหลายๆประเทศในยุโรป รวมถึง สูญเสียบุคลากรทางการแพทย์ ไปเพราะโรคนี้ไปตามๆกัน

Self-Immunity คืออะไร

สุดท้าย ถ้าวัคซีนยังมาไม่ถึง เราก็ต้องจบด้วย Herd immunity นี่แหละ แต่เป็นแบบที่เรียกว่า self-immunity นะ คือให้ทุกคนเป็นโรค และหายเอง ก็สร้างภูมิเองนั่นแหละ

เลยต้องทำแบบให้มีการแพร่เชื้อให้ช้าที่สุด ให้คนเป็นโรคแบบค่อยเป็นค่อยไป ถ้าโชคดีก็รอจนกว่าวัคซีนออกมา ถ้ายังไม่มีวัคซีน ก็รักษาไปเรื่อยๆจนคนติดโรคที่เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และก็จะน้อยลงเรื่อยๆ ไปพร้อมกันคนที่มีภูมิมากขึ้นเรื่อยๆ

นี่คือสิ่งที่ เป็นภาพทั้งหมด ที่ให้มองเห็น และเข้าใจไปตามๆกัน

เอาว่าสาธารณสุขไทย ตอนนี้ ต้องการแบบนี้ที่ว่า คือ ช้าๆไปเรื่อยๆ แม้ว่าจะได้ยินหรือได้เห็นช็อตที่มาบอกว่า รู้เท่าไม่ถึงการณ์ อยู่เรื่อยๆนะ😏

ตอนนี้มันมาถึงจุดที่ว่า มีคนไม่ยอมกักตัว เพราะดันเป็นรนที่ติดมาจากคนไทยด้วยกัน เช่น ในสนามมวย - คนเหล่านี้ ไม่รู้หรอกว่าจะติด เพราะคนที่มาแพร่เชื้อก็ยังไม่รู้เลยว่าตัวเองเป็นไง แล้วทุกคนที่เสี่ยงในแบบนี้ ก็ได้กระจายไปทั่วประเทศแล้ว (มั้ง)

ทีนี้เราเลยอยู่ในจุดที่ไม่รู้เลยว่าใครติดบ้าง คนที่ยืนอยู่ข้างๆเราติดมั้ยนะ ไปสนามมวยมาป่าว หรือ ไปทองหล่อมารึป่าว หรือเป็นญาติๆ เพื่อนๆ คนเหล่านี้ คือคนที่ติดมาอีกทอด แล้วมาส่งให้เรารึป่าว

มันจึงเป็นที่มาว่า ให้ทุกคนอยู่ในบ้าน ให้มากกว่า 14 วัน (เลยเอาไป 22 วัน) แล้วให้ทุกๆคนที่ตัวเอง ก็ไม่รู้ว่าใครที่อยู่รอบๆเราติดโรคมามั้ย และทุกคนก็เชื่อว่า “ชั้นไม่ติดแน่ๆ” อยู่ในที่ที่ของตัวเอง และไม่ไปแพร่เชื้อให้กับคนอื่นๆ

โดยที่ไม่ต้องมาบอกว่า “แกเสี่ยง” “แกสิเสี่ยง” อะไรอีก ก็ให้ทุกคนเฝ้าระวังการสัมผัสโรค ดูแลตัวเองและครอบครัว ให้ดี สาธารณสุขจึงจำเป็นต้องทำแบบนี้ เพื่อที่จะกักกันโรค ให้กับทุกๆคนที่เหมือนกลายเป็นคนเสี่ยงได้ดีที่สุด

มันจะได้ผล หรือ ไม่ได้ผล ก็ขึ้นอยู่กับความเข้าใจ และการให้ความร่วมมือของทุกๆคนแล้วครับ

สุดท้าย คือ รู้และป้องกันตัวเองและผู้อื่น

จะเฟส 2 หรือ 3 ไม่ต้องไปกลัว!!

เอาจริงๆมันไม่ต่างกันในการดูแลตัวเอง และครอบครัว

ยาที่มีตามข่าวยังไม่มีแพร่หลาย ถึงมีก็แค่ช่วยให้โรคหายเร็วขึ้น วัคซีนยังผลิตไม่ได้ในตอนนี้ เพราะฉะนั้นดีที่สุดตอนนี้ คือไม่เป็น หรือไม่ติดโรค โดยเฉพาะคนสูงอายุที่บ้าน

ตอนนี้มีคนหลุดจากการเฝ้าระวัง หรือบางคนไม่ยอมกักกันตัวเอง หลุดออกไปในสังคมมากมาย จากหลายๆที่ที่เรารู้กัน จนตอนนี้ไม่รู้ว่าใครเป็นใครแล้ว ไม่รู้ว่าใครติดโรคหรือเปล่า จากกรณีนี้ การอยู่ในบ้าน น่าจะดีกับทุกคนมากที่สุดในช่วงนี้

แล้วเราควรทำอะไรบ้าง

ไม่ออกไปในที่ชุมชน แต่ถ้าต้องไป ให้ใส่หน้ากาก และ อย่าลืม!! ไม่เอามือไปจับเกินหน้าอกขึ้นมาถึงหน้า น่าจะปลอดภัยสุด

ล้างมือตลอดเวลา หลังจากจับอะไรที่รู้สึกว่าไม่ปลอดภัย แต่ถ้าจับไปแล้ว ยังไม่มีที่ล้างมือ ก็เหมือนเดิม อย่าลืม!! อย่าเพิ่งไปจับอะไรที่เป็นเยื่อบุที่หน้า ตาจมูกปาก

อย่าลืม เช่น ไปล้างมือในห้องน้ำนอกบ้าน แล้วเวลาหลังล้างมือเสร็จ เอามือไปจับเปิดประตูออกจากห้องน้ำ อย่าไปคิดว่ามันสะอาดแล้วเพราะเพิ่งไปล้างมานะครับ มันเพิ่งสกปรกไปตอนจับนี่แหละ ต้องตระหนักไว้เสมอ

ถ้ารู้สึกว่าตัวเองป่วยแต่ไม่มาก แต่คิดว่าไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง ให้ดูอาการตัวเอง รักษาเองได้รักษาก่อน หายากิน ปรึกษาผู้รู้ ( หมายถึงบุคลากรทางการแพทย์นะ ไม่ใช่ Social)​ การไปโรงพยาบาลช่วงระบาดนี้ ก็ไม่ได้ปลอดภัยขนาดนั้น แต่ถ้าอาการแย่ลง หรืออาการเท่าเดิม ไม่ดีขึ้นใน 3-5 วัน ก็อาจจะต้องไปพบแพทย์ แต่อาจจะลองสอบถามช่องทางการเข้าโรงพยาบาลก่อน เพื่อความปลอดภัยไปในการไปโรงพยาบาลด้วย

แล้วถ้าเจอคนป่วยล่ะ

ก็ให้อยู่ห่างๆเข้าไว้ ให้เขาใส่หน้ากาก ถ้าเป็นคนรู้จักหรือคนในที่ทำงาน ก็ให้ลาไปเลย อย่าลืมสังเกตสิ่งที่เขาจับด้วยนะ อย่าลืมให้ใครไปทำความสะอาดล่ะ

ตอนทานอาหารละ

ถ้าทำกินเองก็จบ หรือใครเก็บอาหารไว้แล้ว ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ในกรณีสั่งอาหารจาก Grab Food Panda หรือคนส่งอื่นๆ ต้องระวังการรับ ไม่ใช่บอกว่าขนส่งไม่สะอาดนะ แต่ให้ป้องกันตัวเอง จากเหตุผลด้านบน ที่เราไม่รู้ว่าใครเป็นใคร จึงอยากให้ป้องกันตัวเองเต็มที่

รับมาแล้ว ถ้าเป็นไปได้ให้เปลี่ยนภาชนะเป็นของเราเอง / ถ้าเอาไปอุ่นใหม่ได้ด้วยยิ่งดี / อย่าเอาถุงหรือภาชนะที่ใส่อาหารมา มาวางไว้บนโต๊ะที่จะกินอาหารด้วยกัน ควรแยกที่เตรียมอาหารออกไป เพื่อไม่ให้ปนเปื้อน / การเทอาหารใส่ภาชนะของเรา ก็ให้ทำอย่างระมัดระวัง / แล้วอย่าลืมล้างมือก่อนกินอาหาร

แล้วเวลาออกไปทำงานล่ะ

จริงๆตอนนี้ถ้า work from home น่าจะตอบโจทย์ที่สุด แต่บางที่ยังต้องไปทำงานอยู่

ก็ถ้าไปรถส่วนตัว ขาไปก็สบายๆ แต่ถ้าไปรถรับจ้าง ก็เหมือนเวลาไปในชุมชน ต้องใส่หน้ากาก ยืนห่างจากคนอื่น 1-2 เมตร สมมุติถ้าต้องไปด้วยรถไฟฟ้า ให้คิดดูว่าเปลี่ยนวิธีดีกว่ามั้ย ที่ต้องยืนใกล้ๆกัน (ตัวอย่างนะครับ)

ถึงที่ทำงาน ต้องสัมผัสสิ่งของในสาธารณะอยู่แล้ว ทั้งบัตรประจำตัว ประตู ขึ้นลิฟท์ บันไดเลื่อน โต๊ะที่ทำงาน ก็ให้ระวังการใช้มือให้ห่างใบหน้า!! และล้างมือบ่อยๆ อ่านมาถึงตรงนี้ ยังใส่หน้ากากอยู่นะ

ใครจะเดินมาเม้าท์ที่โต๊ะ ให้ไล่ออกไป คุย LINE ดีกว่า หรือมึงโทรมา แต่ถ้ามีคนเดินมาคุยจริงๆ ไม่อยากคุยคร่อมโต๊ะ เดี๋ยวทิ้งน้ำลายให้เรา ให้อย่ามีอะไรมาขั้น และที่สำคัญ ให้เรายืนอยู่ในระดับเดียวกัน ระยะห่างเกิน 1 เมตร เพราะว่าลองคิดตามนะ ถ้าเรานั่งต่ำกว่า แล้วอีกคนนึงยืน มันจะโปรเจคไตล์ใส่หัวเราพอดี

เวลากินข้าวหล่ะ ไม่ต้องกินด้วยกันจะดีกว่า และจานเดี่ยวดีที่สุด นั่งให้ห่างกันและ​ไม่ต้องเมาท์ เดี๋ยวน้ำลายกระเด็นใส่กัน แค่นั่งตรงข้ามกัน มีช้อนกลาง หรือช้อนกู ก็ไม่ได้ช่วยอะไร ถ้ามันคุยแล้วน้ำลายกระเด็นมาติดที่มือ ที่ช้อน หรือลงมาในจานเรา สุดท้ายกำลังจะเช็ดปาก ไปล้างมือก่อนนะ แล้วค่อยเช็ด

กลับมาทำงานในตอนบ่ายก็ล้างมือก่อน บริเวณโต๊ะที่ทำงาน ถ้าทำความสะอาดได้ก็ดี ทำบ่อยๆ

พอเลิกงาน ก่อนเข้ารถ อย่าลืมล้างมือก่อน / กระเป๋าที่เราเอาไปทำงานด้วย รวมถึงมือถือ ก็ตัวดีนะ ถ้าจะเอามันไปวางในรถก่อน แล้วค่อยล้างมือ มันก็เปิดรถไปแล้วนี่หว่า ตกลงมือสะอาดมั้ยนะ อย่าเพิ่งงงนะ / เอาแบบนี้!! ก็เข้าไปในรถ อาจจะล้างมือสักหน่อย ให้สะอาด ก่อนจะขับรถ และอย่าลืม!! ดีที่สุด อย่าเอามือไปจับหน้านั่นแหละ ถ้ามันอยากจะจับจริงๆ ให้รถหยุด ล้างมือใหม่ แล้วค่อยจับ เอาเป็นทีทีไป / แต่ถ้ากลับรถรับจ้าง ก็คิดเหมือนเดิมนะครับ

แล้วพอถึงบ้านล่ะ อย่าเพิ่งกอดใคร ทั้งเมีย (ทั้งเด็กๆ)​ ทั้งลูก อย่าเพิ่งไปนั่งพักที่ไหน เข้าถึงบ้านให้ไปอาบน้ำก่อน ถอดเสื้อผ้าอย่างระมัดระวัง ถ้าไม่ได้ไปซักทันที ไปเก็บอย่างมิดชิด และระวังเวลาเอาไปซัก

อย่าลืมทำความสะอาด สิ่งของที่เราต้องใช้ (ถ้าทำได้)​ มือถือ แว่นตา นาฬิกา หรือของที่ต้องใช้ทำงานต่อ อันไหนใส่ไปแล้ว มันล้างลำบาก ก็ไปเอาอันที่ใส่แล้วล้างได้มาใส่ อย่าลืมทำความสะอาดประตูตอนเราจับมันก่อนเข้าบ้าน / เซ็ตที่วางกุญแจบ้าน กุ​ญแจรถ กระเป๋าทำงาน วางไม่ให้มันไปปะปนกับอย่างอื่น และให้ไม่มีคนมาจับถูกมันง่ายๆด้วย (เราคงล้างไม่ได้ทุกอย่าง)​

อันไหนไม่แน่ใจว่าสะอาดมั้ย ถ้าซักได้เอาไปซัก ถ้าทำความสะอาดได้ยากๆแล้วไม่แน่ใจความสะอาด ก็เช็ดทำความสะอาด​เท่าที่ทำได้ แล้วเปลี่ยนไปใช้อันอื่น แล้วทิ้งอันนี้ไว้หลายๆชั่วโมง​หรือเป็นวัน แล้วค่อยกลับมาใช้ใหม่

ถ้าเราจับอะไรไปแล้วไม่แน่ใจ ให้ไปล้างมือใหม่ จะ น้ำและสบู่  ที่ 20 วินาที อย่างถูกต้อง 7 ขั้นตอน / หรือ ใช้แอลกอฮอล์เจล (จะเห็นว่าเวลามีเจลก็สะดวกขึ้นเยอะ ในหลายๆช่วง)

แค่นี้ก็นอนหลับสบาย แล้วพรุ่งนี้ก็เริ่มใหม่ ทำให้เป็นนิสัยนะครับ

#ขอให้ทุกคนปลอดภัย
#อย่าลืมล้างมือบ่อยๆ
#จิตสาธารณะมันยิ่งใหญ่เสมอ
#DSARG​xCOVID19
#KRTi

ที่มา: หมอ @Kee เผยแพร่โดย FB user - เปียงกี่น้อย ตัวกลมป๊อก

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.